( )
http://superem.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 สินค้า

 รวมรูปภาพ

วิธีการใช้งาน

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ14/12/2012
อัพเดท27/02/2024
ผู้เข้าชม36,139
เปิดเพจ51,956
สินค้าทั้งหมด4

สินค้า

สินค้าขายดี
 สินค้าทั้งหมด

ตัวอย่างหมวดหมู่

EM

น้ำเน่า

iGetWeb.com
AdsOne.com

EM (อีเอ็ม) คือ อะไร?

EM (อีเอ็ม) คือ อะไร?

E M (อี เอ็ม) คือ อะไร

 

ความเป็นมาของ EM

ศ.ดร.เทรูโอะ  ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องส้ม แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนส้มได้ แม้จะพยายามใช้ความรู้ความสามารถเพียงใดก็ไม่ได้ผล ในโอกาสนั้น ท่านได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะของท่านโมกิจิ โอกาดะ (เมซุซามะ) เกิดความสนใจ หนังสือเล่มหนึ่งของท่านโมกิจิ โอกาดะ เขียนไว้เกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติ มีข้อความที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น

  • การเกษตรที่ปลอดสารเคมี
  • ภัยพิบัติของมนุษย์ชาติและธรรมชาติของโลก
  • ความรักของธรรมชาติต่อสรรพสิ่งในธรรมชาติของโลก
  • สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

 

ท่าน ศ.ดร.ทารูโอะ  ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มการค้นคว้า เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตในดินที่เรียกว่าจุลินทรีย์ เมื่อ พ.ศ.2525 เป็นการค้นพบเทคนิคการใช้ E.M. (Effective Microorganisms) กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ความสำคัญ ณ จุดนี้คือ ได้ค้นพบการทำงานของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

            1. ทำงานแบบสร้างสรรค์ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์ มีประมาณ10 %

            2. ทำงานแบบเป็นกลาง เรียกว่า กลุ่มเป็นกลางคอยเกื้อหนุน 2 ฝ่ายแรก ทีมีจำนวนมาก ถึงประมาณ  80  %

            3. ทำงานแบบทำลาย หรือ กลุ่มจุลินทรีย์โรค มีประมาณ 10 %

 

“กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ” มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ในที่นี้จะมีทั้งจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ คือ แอโรบิค แบคทีเรีย (Aerobic Bacteria) และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ คือ อนาโรบิค แบคทีเรีย (Anaerobic bacteria)

  

 

 

E M (อี เอ็ม)

เป็นการรวมกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมาบรรจุในภาชนะเดียวกัน มีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่10 จีนัส 80 สปีชีส์ เพื่อนำไปใช้งานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ

1. กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง  (Photosynthetic bacteria)

2. กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic acid bacteria)

3. กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตเจน  (Nitrogen fixing bacteria)

4. กลุ่มจุลินทรีย์แอคทิโนมัยซีทส์  (Actenomycetes)

5. กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ (Yeasts)

ลักษณะทั่วไปของ EM

1. เป็นของเหลวมีสีน้ำตาลแก่  กลิ่นอมเปรี้ยว  อมหวาน                

2. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี  ยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าเชื้อต่างๆได้                                               

      3. ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืชและแมลงที่เป็นประโยชน์

4. ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อม             

      5. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยาย  เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง                                              

6. หัวเชื้อ EM  สามารถเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6 เดือนที่อุณหภูมิปกติที่ 25-45 องศาเซลเซียส  โดยปิดฝาให้สนิท  อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น  ทุกครั้งที่นำออกมาใช้จะต้องรีบปิดฝาให้สนิท  การขยาย EM ควรใช้ภาชนะและน้ำที่สะอาดและใช้ให้หมดในเวลาที่เหมาะสม

      7. ในกรณีที่เก็บไว้หลายวันโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ในภาชนะจะมีฝ้าขาวๆเหนือ

ผิวน้ำเป็นการพักตัวของเชื้อ  เมื่อเขย่าทิ้งไว้ฝ้าสีขาวก็จะหายเป็นปกติ

 

ประโยชน์ของ EM ในด้านปศุสัตว์

1. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ภายใน 24 ชม.              

2. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ใน 1-2 สัปดาห์                      

3. ช่วยป้องกันโรคระบาดต่างๆในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่นๆได้     

4. ช่วยกำจัดแมลงวันด้ายการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้า ดักแด้เกิดเป็นแมลงวัน                                       

5. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง  ทำให้สัตว์แข็งแรง  มีความต้านทานต่อโรค  ให้ผลผลิตสูง และอัตราการตายต่ำ                      

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view